ห้วข้อวันนี้เอาใจเพื่อน ๆ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในออสเตรเลียไม่ว่าระดับวิชาชีพหรือปริญญา เพราะต้องยอมรับว่าช่วงใกล้เรียนจบหลายคนจะเริ่มกังวลว่าต้องกลับไทยทันทีรึเปล่า ถ้าอยากอยู่ต่อจะต้องทำยังไง สมัครได้แต่วีซ่านักเรียนหรอ ถ้าอยากสมัครวีซ่าอื่นเพื่ออยู่ทำงานต่อได้รึเปล่า
คำตอบคือ ได้ค่ะ! เศรษฐกิจประเทศออสเตรเลียจำเป็นต้องพึ่งแรงงานของนักเรียนต่างชาติและผู้อพยพ(ถูกกฎหมาย)พอสมควร รัฐบาลออสซี่จึงมีประกาศรายการสาขาอาชีพที่ขาดแคลนอยู่ทุกปีเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนต่างชาติที่เรียนจบตรงตามสาขามีโอกาสได้สมัครวีซ่าทำงานอยู่ต่อหลังจบหลักสูตร
.
วีซ่าดังกล่าวนี้มีชื่อเต็ม ๆ เรียกว่า Temporary Graduate Visa (subclass 485) หรือที่เรียกเฉพาะตัวเลขกันว่า 485 เพื่อจำและเข้าใจกันได้ง่ายขึ้น คุณสมบัติหลัก ๆ ที่ทำให้วีซ่าประเภทนี้เป็นที่นิยมคือ ผู้ถือวีซ่านี้สามารถอยู่ต่อในออสเตรเลียหลังจบการศึกษาได้ แถมยังมีสิทธิในการทำงานแบบเต็มเวลาไม่จำกัดชั่วโมงอีกด้วย ถือเป็นการต่อยอดทักษะและประสบการณ์ที่เก็บเกี่ยวระหว่างเรียนมาใช้ในโลกการทำงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากทีเดียว
วีซ่าประเภทนี้ยัง แบ่งเป็น stream ย่อย ๆ 3 แบบ คือ
1- Post-Vocational Education Work stream - https://immi.homeaffairs.gov.au/visas/getting-a-visa/visa-listing/temporary-graduate-485/post-vocational-education-work
2- Post-Higher Education Work stream - https://immi.homeaffairs.gov.au/visas/getting-a-visa/visa-listing/temporary-graduate-485/post-higher-education-work
3- Second Post-Higher Education Work stream - https://immi.homeaffairs.gov.au/visas/getting-a-visa/visa-listing/temporary-graduate-485/second-post-higher-education-work
คุณสมบัติของผู้ที่สามารถสมัครวีซ่าทั้ง 3 stream จะไม่ต่างกันมากนัก เช่น
อายุไม่เกิน 35 ปี
เรียนจบจากสถาบันในออสเตรเลียมาไม่เกิน 6 เดือน
มีผลภาษาอังกฤษตามที่ Immigration กำหนด
IELTS 6.5 ทุกพาร์ทไม่ต่ำกว่า 5.5
PTE 57 (43 for listening / 48 for reading / 42 for speaking / 51 for writing)
ไม่มีประวัติประกอบอาชญากรรมใดใดมาก่อน เป็นต้น
อันที่จริงข้อแตกต่างหลักที่จำแนกวีซ่า 485 ออกเป็น 3 stream คือ (1) ระยะเวลาวีซ่า และ (2) เงื่อนไขระดับวุฒิและสาขาวิชาที่จบต่างหาก

*MLTSSL ย่อมาจาก Medium and Long-term Strategic Skills List หรือที่เรียกกันติดปากว่ารายชื่ออาชีพขาดแคลนซึ่งจะมีการอัพเดททุกปีโดยรัฐบาลออสเตรเลีย สามารถเข้าดูรายชื่อได้ที่ https://shorturl.at/8oNsc
**ระยะเวลาวีซ่าของ 2nd Post-Higher Education Work Stream ขึ้นอยู่กับที่ตั้งของสถาบันที่จบการศึกษา และเมืองที่ผู้สมัครวีซ่าพักอาศัยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งรายละเอียดจะพูดถึงต่อไปด้านล่างนี้
เงื่อนไขของวีซ่า Post-Vocational และ Post-Higher Education ตัวแรกก็เป็นอย่างที่หลายคนพอทราบคือกำหนดตามระดับวุฒิและสาขาวิชาเท่านั้นเอง แต่ที่แตกต่างและน่าสนใจมากที่สุดน่าจะเป็น stream สุดท้าย คือ Second Post-Higher Education Work Stream ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนต่างชาติยังคงพำนักอยู่ในออสเตรเลียเพิ่มได้อีกสูงสุดถึง 2 ปี หากรวมกับระยะเวลาวีซ่าตัวแรกแล้วอาจได้มากถึง 5 ปีเลยทีเดียว
ทั้งนี้เงื่อนไขการสมัครวีซ่าตัวที่สองนี้จะเหมือนตัวแรกทุกประการในแง่ของระดับวุฒิที่ต้องเป็นขั้นอุดมศึกษา หรือปริญญาต่าง ๆ นั่นแหละ สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาก็คือ ที่ตั้งของสถาบันการศึกษา และเมืองที่พำนักของผู้สมัครต้องอยู่ในเขต Designate Regional Area

รายละเอียด Designated Regional Area ดูเพิ่มเติมได้ที่ - https://shorturl.at/t9ubd
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมจะต้องกำหนดเขตพื้นที่นอกเมืองใหญ่ ๆ เป็นพื้นที่พิเศษสำหรับการรับระยะเวลาวีซ่าเพิ่ม คำตอบก็ไม่ยากเลย เพราะอย่าลืมว่าเป้าหมายของวีซ่าประเภทนี้คือการป้อนแรงงานที่มีคุณภาพให้กับตลาดงานในออสเตรเลีย โดยคำนึงว่าแรงงานจะไม่กระจุกตัวอยู่เฉพาะในเมืองใหญ่ยอดฮิตอย่างเมลเบิร์นหรือซิดนีย์เท่านั้น

ถ้าพูดกันตามตรงแล้ว เมืองใหญ่อันดับต้น ๆ ของออสเตรเลียมีการแข่งขันในการหางานค่อนข้างสูงมาก เนื่องจากจำนวนตำแหน่งงานโตไม่ทันจำนวนนักเรียนและชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาจำนวนมาก ต่างจากเมืองรอบนอกที่มีตำแหน่งงานอยู่มากมาย แต่ยังไม่ค่อยมีนักเรียนต่างชาติหรือผู้ที่ถือวีซ่าทำงานมากนัก รัฐบาลออสเตรเลียจึงใช้นโยบายให้แต้มต่อกับนักเรียนต่างชาติที่สมัครเรียน ทำงาน และพักอาศํยอย่ในเมืองรองเหล่านี้ได้มีโอกาสต่อยอดเป็นแนงงานคุณภาพต่อไปมากกว่าที่จะให้มาแออัดกันในเมืองใหญ่นั่นเอง

แน่นอนว่าเมื่อการพิจารณาดูจากเมืองที่ตั้งของสถาบันการศึกษาด้วย หมายความว่านักเรียนที่อยากได้ประโยชน์ของการต่อวีซ่า 485 ตัวที่สองนี้ต้องวางแผนการสมัครเรียนตั้งแต่เนิ่น ๆ เลือกสมัครระดับปริญญา และเลือกสมัครเรียนในแคมปัสเมืองรองด้วยเช่นกัน
ข้อควรทราบที่สำคัญของคนที่เลือก stream ระดับปริญญาก็จะอยู่ประมาณนี้ คิดเพียงแค่ว่ามหาวิทยาลัยไหนเปิดสอนหลักสูตรที่เราสนใจ และจะเลือกแคมปัสในเมืองไหนดี (เผื่ออยากจะได้สิทธิสมัคร 485 รอบสอง)
ส่วนคนที่สมัครเรียนระดับวิชาชีพ – ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่เยอะที่สุดของนักเรียนไทยเลยล่ะ - ก็อาจจะต้องคิดเยอะขึ้นอีกนิด เพราะกำหนดสาขาวิชาตามรายชื่ออาชีพขาดแคลนด้วย แถมยังต้องเก็บชั่วโมงการทำงาน ระหว่างเรียนอีกต่างหาก ดังนั้นก็ต้องเลือกกันให้ดีตั้งแต่เริ่มสมัครเรียน

สาขาวิชาที่นักเรียนไทยมักเลือกสมัครเรียนเพื่อเอาไปใช้ต่อยอดวีซ่า 485 ในปัจจุบัน เช่น การทำอาหาร การทำขนม การดูแลเด็กเล็ก และการดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ นักเรียนที่ใช้บริการ Hub 101 ก็น่าจะคุ้นเคยกับคำพูดของพี่ ๆ ที่มักแนะนำสถาบันที่รวมเอาการฝึกงานไว้ในหลักสูตรด้วย ทั้งนี้เพื่อมั่นใจว่าอย่างน้อยเราจะเก็บชั่วโมงการทำงานได้แน่ ๆ แถมมีรายได้ระหว่างเรียนด้วย ส่วนตัวเลือกเมืองก็มีทั้งในเมืองใหญ่อย่างเมลเบิร์นและซิดนีย์ รวมไปจนถึงเมืองใหญ่อื่น ๆ ที่หลายคนอาจไม่คิดว่าอยู่ในเกณฑ์ Regional Area อย่าง #โกลด์โคสต์ และ #เพิร์ธ ด้วย
เอาล่ะค่ะ เท่านี้หลายคนก็น่าจะพอเข้าใจคอนเซปท์ของวีซ่า 485 นี้มากขึ้นแล้ว หากวางแผนสมัครเรียนออสเตรเลียและมีเป้าหมายอยากหางานทำหลังเรียนจบแต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ก็อย่าลืมให้ Hub 101 เป็นผู้ช่วยดูแลนะคะ ปรึกษาได้ทุกช่องทางตามด้านล่างนี้ ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดใดค่ะ
--
Tel: 081 441 8448
Line: hub101study
IG: hub_101_study
Tiktok: hub101study
.
#เรียนต่อออสเตรเลีย
#วีซ่านักเรียนออสเตรเลีย
#ต่อวีซ่าออสเตรเลีย
#วีซ่าท่องเที่ยวออสเตรเลีย
#เรียนต่อนิวซีแลนด์
#วีซ่านักเรียนนิวซีแลนด์
Comments