top of page
  • Writer's pictureChut N

มองสองด้าน gap year หลังเรียนจบ ลองดูซักปี ก็น่าจะดีเหมือนกัน


two men looking up the sky

สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานที่ให้ความสำคัญกับทักษะสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น อาจทำให้เนื้อหาการเรียนการสอนระดับมหาวิทยาลัยของไทยที่เน้นทฤษฎีและสอบวัดผลไม่ตอบโจทย์ของนายจ้างในปัจจุบันมากนัก ถึงขนาดมีการเสียดสีโฆษณารับสมัครงานประเภทจบมาไม่เกิน 2 ปี แต่มีประสบการณ์เทียบเท่า 10 ปีทำนองนั้น ส่งผลให้นิสิตนักศึกษรุ่นใหม่ต้องพยายามหาลู่ทางฝึกงาน เก็บ portfolio รวมไปจนถึงเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา workshop ต่าง ๆ เพื่อเก็บเป็นโปรไฟล์เพิ่มเติมจากวุฒิการเรียนเพียงอย่างเดียว

จริงอยู่ที่มหาวิทยาลัยบางแห่งเปิดสอนหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองโจทย์แห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ เช่น การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมมาปรับใช้ในการเรียนการสอน การเพิ่มเครดิตวิชาภาคปปฏิบัติมากขึ้น รวมไปจนถึงหลักสูตรระดับปริญญาสาขาวิชาชีพทั้งที่เป็นอาชีพเกิดใหม่ และอาชีพที่มีผู้เชี่ยวชาญในประเทศไม่มากนัก เช่น นักสื่อสารการกีฬา นักทัศนมาตร์ ตลอดไปจนถึงการจัดการธุรกิจเฉพาะด้านอย่างอีเว้นท์ ซาลอน คอนเสิร์ต เป็นต้น หลายมหาวิทยาลัยเริ่มร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศโลกการทำงานเสมือนจริง เป็นหนึ่งในช่องทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และปรับตัวเข้ากับเสต็ปต่อไปของชีวิต


อีกทางเลือกหนึ่งในการเตรียมพร้อมเพื่อการแข่งขันในโลกการทำงานคือ gap year หรือเว้นระยะจากการเรียน/ทำงานประจำ ส่วนมากใช้เวลาประมาณ 1 ปีนั่นเอง ออกตัวไว้ก่อนว่าผู้เขียนเข้าใจดีว่าการมี gap year นั้นถือเป็นสิทธิพิเศษสำหรับผู้ที่มีต้นทุนทั้งด้านการเงินและสังคมอยู่พอประมาณ เนื่องจากการเว้นระยะจากการทำงานไปหนึ่งปีนั้นหมายถึงโอกาสในการทำงานสร้างอาชีพและรายได้ที่ขาดหายไปหนึ่งปีเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การมี gap year นั้นถือว่ามีประโยชน์มากมายหลายอย่างที่สามารถส่งผลดีกับชีวิตการทำงานในระยะยาว หากใครที่สามารถจะใช้ช่วงเวลาหนึ่งปีในการค้นหาความสนใจ ความถนัด ตลอดจนฝึกฝนทักษะที่จำเป็นได้ ก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าไม่น้อย


Disclaimer เรียบร้อยแล้วก็มาเข้าประเด็นกันดีกว่า ก่อนจะตัดสินใจว่าควรมี gap year หรือไม่ ก็ควรมีข้อมูลว่าทางเลือกนี้มีข้อดีข้อเสียยังไงบ้าง เพื่อสามารถตัดสินใจเลือกเส้นทางที่เหมาะกับบริบทของชีวิตและเป้าหมายที่เราวางแผนไว้นั่นเอง


เริ่มกันที่ข้อดีหรือประโยชน์ 10 ข้อ ตามลิสด้านล่างนี้ น่าจะพอช่วยให้เห็นภาพเผื่อไว้ใช้อ้างอิงเวลาคุยกับผู้ปกครอง


1-เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ


ข้อนี้น่าจะถือเป็นประโยชน์ที่เห็นเด่นชัดที่สุดของ gap year การเว้นว่างจากการเรียนและการทำงานนั้นหมายถึงภาระหน้าที่ที่ลดลง เวลาว่างมากขึ้น เปิดโอกาสให้เราได้ค้นคว้าและขวนขวายพัฒนาทักษะอื่น ๆ ตามความสนใจ ยิ่งสมัยนี้มีเทคโนโลยีการเรียนผ่านสื่อออนไลน์ยิ่งสะดวกใหญ่ เราสามารถเลือกช็อปปิ้งความรู้ได้หลากหลาย ไล่ไปตั้งแต่การเขียนโค้ด การทำอาหาร ประวัติศาสตร์สากล หรือแม้แต่การเปลี่ยนก๊อกน้ำ เรียกว่ามีทุกอย่างให้เลือกศึกษาได้ด้วยตัวเองทั้งนั้น


ใครที่พอมีกำลังทรัพย์ก็อาจเลือกเดินทางไปเรียนภาษาที่ 2-3-4 ต่างประเทศได้ด้วย การเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครไม่ว่าในหรือต่างประเทศก็เปิดโอกาสให้ได้พบเพื่อนต่างชาติเช่นกัน พูดง่าย ๆ ว่ามีช่องทางให้เลือกเรียนรู้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และมีหลากหลายทักษะความรู้ให้ได้ลองศึกษาตามความต้องการ


2-ประสบการณ์ประเภทครั้งเดียวในชีวิต (once-in-a-lifetime)


ช่วงวัยหลังเรียนจบมหาวิทยาลัยถือเป็นช่วงเวลาวัยรุ่นที่ร่างกายยังคงแข็งแรง เรียกว่าเป็นวัยที่ไฟแรงที่สุด พลังงานเหลือล้นนี้เป็นต้นทุนชั้นดีสำหรับการออกไปสำรวจโลกกว้าง เพราะแน่นอนว่าเมื่อเริ่มทำงานแล้วน้อยคนนักที่จะปลีกตัวไปเที่ยวได้บ่อย ๆ ช่วงวเลานี้จึงถือเป็นช่วงเวลาที่ผ่านไปแล้วผ่านไปเลย ถึงอนาคตจะค่อยตัดสินใจออกเดินทางก็อาจมีปัจจัยแลพันธะอื่นอีกมากมายให้ต้องนึกถึง ใช่ว่าจะตัดสินใจจากความต้องการและความสนใจของเราเป็นหลักได้อย่างเดียว


3-มหาวิทยาลัยและนายจ้างส่วนมากแนะนำ


ต่อเนื่องจากข้อก่อนหน้า, องค์กรและสถาบันการศึกษาชั้นนำหลายแห่งรู้ดีว่าผู้สมัครที่มี gap year มักจะมีประสบการณ์บางอย่างติดตัวมานอกเหนือจากวุฒิการศึกษาเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าประสบการณ์อาสาสมัคร เครือข่ายอาชีพ หรือความรู้ความเข้าใจทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังสะท้อนลักษณะส่วนตัวบางอย่างได้ด้วย เช่น ความรับผิดชอบ การวางแผนปละการจัดการ ตลอดจนความสามารถในการรับมือสถานการณ์เฉพาะหน้าต่าง ๆ ทั้งหมดถือเป็นคุณสมบัติที่มีแรงดึงดูดสูงในสายตานายจ้าง


4-ช่วงเวลาเก็บประสบการณ์


ถ้าใครตัดสินใจแล้วว่าน่าจะเอาดีในสายงานไหน gap year ก็เป็นช่วงเวลาดีที่จะลองฝึกงานในโปรแกรมฝึกงาน(internship) หรือลองสมัครงานตำแหน่งเริ่มต้น (entry-level) ขององค์กร/บริษัทที่เกี่ยวข้องเพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกของสายงานนั้น ๆ ได้ นอกจากได้รู้นอกออกในวงการที่เราสนใจแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ได้สร้างเครือข่ายคอนเนคชั่นกับมืออาชีพและผู้มีประสบการณ์อีกด้วย


โบนัสอีกข้อคือการได้ทดลองเอาความรู้และทฤษฎีที่เคยเรียนมาลองปฏิบัติงานจริง รวมทั้งฝึกฝนฝีมือการใช้เครื่องมอืและซอฟท์แวร์ต่าง ๆ ให้เชี่ยวชาญมากขึ้น เมื่อเข้าสู่โลกการทำงานจริงแล้วทักษธเหล่านี้ก็จะช่วยให้ปรับตัว และรับมือกับงานที่ต้องรับผิดชอบได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


5-เสริมความแกร่งให้ resume


ข้อนี้ก็ตรงตามตัวอักษรเลย ถ้าตำแหน่งงานที่เราสนใจเป็นตำแหน่งที่มีการแข่งขันสูง ประสบการณ์ในช่วง gap year นั้นสามารถนำมาใช้เป็นไฮไลท์สร้างความโดดเด่นของเราให้ต่างจากผู้สมัครรายอื่น โดยเฉพาะถ้า gap year นั้นใช้ไปกับงานอาสาสมัครหรือเก็บประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสายงานโดยตรง


resume submitted to interviewer

6-ปรับตัวเข้ากับบริบทใหม่ในฐานะผู้ใหญ่คนหนึ่ง


โลกหลังเรียนจบไม่ได้หมายถึงการสมัครงาน และเข้างาน 9-5 โมงเท่านั้น แต่หมายรวมถึงกาปรับตัวกับกับจังหวะชีวิตแบบใหม่ที่ไม่มีวันเปิด-ปิดเทอม ไม่มีการสอบ ไม่มีเดดไลน์ส่งการบ้าน กิจกรรมแต่ละวันขึ้นอยู่กับเราเป็นผู้สร้างสรรค์เองตามแต่ใจ เพราะไม่มีคู่มือไหนที่สามารถบอกได้ แน่นอนว่าการออกแบบไลฟ์สไตล์แบบใหม่ (ที่อาจติดตัวเราไปอีกหลายสิบปี) เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา หากเราสามารถปันเวลา 1 ปีไว้เพื่อค่อย ๆ เรียนรู้เงื่อนไขและความต้องการของตัวเองแล้ว ก็น่าจะสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับบริบทใหม่ของชีวิต


7-โอกาสค้นหาความสนใจและความหลงใหลด้านอื่นในชีวิต


ชีวิตวัยเรียนของเด็กไทยอัดแน่นไปด้วยกิจกรรมอะไรมากมายขนาดไหนใครก็รู้ ไหนจะเรียนที่โรงเรียน ไหนจะต้องเรียนพิเศษ ความคาดหวังและกดดันจากสังคมรอบตัวให้ทำคะแนนสอบได้ดี ส่งผลให้แทบไม่มีเวลาได้ทำในสิ่งที่ต้องการ หลายคนไม่มีงานอดิเรกเพราะไม่รู้ว่าตัวเองสนใจหรือมี passion กับอะไรเป็นพิเศษ ความสนใจบางอย่างอาจเป็นไปตามกระแสคนหมู่มากซึ่งเป็นเรื่องชั่วคราว ถ้าบังเอิญค้นพบขึ้นมาว่าเป็นสิ่งที่เราชอบจริงก็ดีไปอาจพอเอามาต่อยอดเป็นอาชีพก็ได้ หรือจะเก็บไว้เป็นงานอดิเรกหย่อนใจก็ได้ ส่วนใครที่ยังก็ไม่เคยรู้จริง ๆ ว่าความสนใจของเรานั้นอยู่ที่ไหน ช่วงเวลา gap year นี้ก็น่าจะเป็นพื้นที่ให้ได้ลองผิดลองถูก ตัวอย่างเช่น นักศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิตคนหนึ่งอาจมีความสนใจเรื่อง digital art แต่ไม่ค่อยมีเวลาวาดภาพอย่างที่ต้องการ ช่วงเวลาหนึ่งปีนี้อาจใช้ไปกับการวาดภาพจนหนำใจ ใครจะรู้, ส่วนผสมนี้อาจจะทำให้บัณฑิตคนนี้กลายเป็นนัดวาดภาพประกอบหนังสือแนววิทยาศาสตร์ หรือนักเขียนหนังสือภาพไซไฟไปเลยก็ได้


8-สร้างคอนเนคชั่นใหม่ ๆ


ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมโครงการ ฝึกงาน สัมมนา กิจกรรมอาสาสมัคร เดินทางไปต่างประเทศ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นแพลตฟอร์มให้เราได้พบเจอและพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้คนใหม่ ๆ จากหลากหลายพื้นเพสาขาอาชีพ คอนเนคชั่นเหล่านี้นั้นจะเป็นประโยชน์กับชีวิตทำงานของเราในอนาคตได้แน่อน อาจเป็นรูปแบบของโอกาสและมุมมองการทำงาน ข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจแต่ละประเภท หรือความเป็นไปได้ในการร่วมมืออื่น ๆ

friends-meeting-at-coffeeshop

9-มีข้อมูลในการตัดสินใจและออกแบบชีวิตในอนาคตมากขึ้น


แนวทางดำเนินชีวิตของเด็กไทยส่วนมากมักถูกเปรียบเทียบกับสายพานการผลิตในโรงงาน หมายถึง เรียนจบมัธยมปลายก็ต้องรีบเข้าเรียนมหาวิทยาลัย จบปริญญาตรีก็ต้องรีบหางานทำให้เร็วที่สุด ได้งานแล้วก็ต้องรีบทำผลงานให้ได้ขึ้เนเดือน ได้เลื่อนตำแหน่ง ทางเลือกสาขาวิชาและอาชีพไม่ได้มาจากความสนใจหรือความตั้งใจ แต่ตัดสินกันที่เกรดเฉลี่ยและค่านิยมของสังคม

ความกดดันของสังคมที่ให้นิยามความสำเร็จตามระดับตำแหน่งและเงินเดือนส่งผลให้บัณฑิตหลายคนรีบกระโจนเข้าสู่ตลาดงาน และรีบคว้างานไหนก็ได้ที่ได้รับเลือก ถ้ามีความสุขกับงานที่ทำ และทำได้ดีก็โอเคไป แต่ถ้าทำแล้ว suffer คิดว่าไม่ใช่ ต้องการเปลี่ยนสายงานขึ้นมา จะไปเริ่มงานสายงานอ่นก็ไม่มีประสบการณ์ เผลอ ๆ บางคนไม่มีวุฒิที่เกี่ยวข้องด้วย จะให้ไปแข่งขันกับเด็กรุ่นใหม่ที่จบตรงสายมา มีประสบการณ์มากกว่า ก็ดูเป็นเรื่องเสี่ยงเหลือเกิน ดังนั้นจะไม่ดีกว่าหรือถ้าเราสามารถใช้เวลาในการหาข้อมูล วางแผน และพิจารณาเลือกสาขาวิชาที่อยากเรียน รวมทั้งอาชีพที่อยากทำอย่างรอบคอบ ก่อนจะตัดสินใจเลือกเส้นทางอาชีพที่อาจกินเวลาในชีวิตปอีกหลายปี


10-เสริมสร้างความมั่นใจ


การหยุดวิ่งตามกระแสค่านิยมสังคม 1 ปีถือเป็นการออกจาก comfort zone ที่มีผลกระทบกับการใช้ชีวิตหลายด้าน ไมว่าเราจะใช้เวลาปีนั้นเพื่อร่วมกิจกรรมประเภทไหน จะเป็นกิจกรรมเชิงวิชาการ สาสมัคร หรือทดลองงานใดใด ทั้งหมดจะช่วยให้เราคุ้นเคยกับการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ รู้จักการแก้ไขปัญหาในบริบทที่ท้าทายมากกว่าในรั้วโรงเรียน/มหาวิทยาลัย



ถัดไปจะเรียกว่าข้อเสียก็ไม่ถูกต้องซะทีเดียว น่าจะเป็นข้อควรคำนึงถึงเมื่อคิดจะวางแผน gap year ซะมากกว่า เพราะอย่างที่ออกตัวไปด้านบนว่าการมี gap year นั้นต้องใช้ต้นทุนบางอย่างอยู่เหมือนกัน พร้อมแล้วก็ไปกันต่อเลย


1-จังหวะชีวิตอาจสะดุด


ช่วงเรียนจบใหม่ ๆ เป็นช่วงที่ความรู้เชิงวิชาการอยู่ในระดับพีคที่สุด ไฟยังแรง มีความคิดสดใหม่ที่นำไปสู่ความคิดสังสรรค์ต่าง ๆ ได้มาก การหยุดพักเพื่อทดลองเรียนรู้สิ่งอื่น หรือลองกิจกรรมอื่นที่ไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน อาจทำให้ความกระตือร้นเดิมที่มีสะดุดลงก็เป็นได้ ทั้งนี้ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดกับทุกคน เพราะการเรียนปริญญานั้นเป็นเรื่องหนักหน่วง ทำเอาหลายคน burned out ไปไม่น้อย หากได้เปลี่ยนบรรยากาศ ทดลองใช้ชีวิตในสภาพแวดล้องหรือมีกิจวัตรใหม่ ๆ น่าจะช่วยจุดประกายแรงบันดาลใจขึ้นมาใหม่ได้อีกครั้ง


2-พลาดโอกาสบางอย่าง


ข้อนี้จะเรียกว่าเสียโอกาสก็ไม่ใช่ซะทีเดียว เพราะการเลือกเส้นทางนึงก็หมายถึงเสียโอกาสที่จะได้ทดลองเดินเส้นทางอื่น เช่น หากเราเลือกที่จะฝึกงาน ก็อาจทำให้เสียโอกาสที่จะลงเรียนต่อระดับที่สูงขึ้น หากเราเลือกการเดินทางต่างประเทศ ก็อาจพลาดโอกาสสมัครงานในปีนี้ เป็นต้น แต่แน่นอนว่าโอกาสที่เสียไปใช่ว่าจะเสียตลอดกาล หากเราเตรียมพร้อมตัวเองไว้ เมื่อจังหวะการเรียนต่อหรือสมัครงานใหม่เวียนมาอีกครั้ง เราในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้นก็จะมีโอกาสมากขึ้นที่จะคว้าโอกาสนั้นไว้ได้นั่นเอง


3-ค่าใช้จ่ายอาจค่อนข้างสูง


การใช้ gap year หมายถึงช่วงเวลาหนึ่งที่ไม่ได้ทำงานประจำส่งผลให้ไม่มีรายได้ที่แน่นอน ในขณะที่รายจ่ายในชีวิตประจำวันยังคงเดินหน้าไปเรื่อย ๆ หนึ่งในวิธีแก้ไขปัญหานี้ที่นิยมคือการรับทำงานพาร์ทไทม์ หรือเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนต่างประเทศที่มีสวัสดิการที่พักให้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเช่นโครงการ Work & Holiday ของออสเตรเลียที่อนุญาตให้ผู้ที่ถือวีซ่าทำงานเต็มเวลา ได้รายได้เต็ม ๆ และมีโอกาสเรียนภาษาตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย


hand holding a coin

4-อาจรู้สึกตามเพื่อนไม่ทัน


ระหว่างที่เราออกไปสำรวจทางเลือกอื่น ๆ เพื่อนร่วมรุ่นส่วนมากน่าจะเดินหน้าไปตามค่านิยมหลักของสังคม ไม่ว่าทำงานประจำ เริ่มทำธุรกิจส่วนตัว หรือแม้กระทั่งแต่งงานสร้างครอบครัว การเริ่มต้นหลังเพื่อนไปซักปีนึงอาาจทำให้เกิดความรู้สึกว่าเราช้ากว่าเพื่อนเกินไปรึเปล่านะเป็นธรรมดา วิธีแก้ไขก็ไม่ยาก ลองตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวให้กับตัวเอง แทนที่จะเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น หันกลับมามองดูว่าเราก้าวไปตามแผนการที่วางไว้ได้มากน้อยเท่าไหร่แล้วน่าจะชื่นใจกว่า


5-ต้องวางแผนอย่างละเอียด


กิจกรรมช่วง gap year อาจหมายถึงการเดินทางต่างประเทศ การสมัครเรียนต่อ หรือการเอาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย และส่วนมากก็จะเป้าหมายเก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อมาใช้ประโยชน์ในเส้นทางการทำงานในอนาคต ดังนั้นก็ต้องศึกษาหาข้อมูลกันให้ดี เพราะต้นทุนที่ต้องจ่ายไม่ได้หมายถึงแค่ตัวเงินแต่รวมถึงเวลาด้วย ถ้าเราสามารถวางแผนเลือกกิจกรรมให้เหมาะกับเป้าหมายและลักษณะนิสัยส่วนตัวแล้ว gap year นั้นก็น่าจะเป็นหนึ่งปีที่มีคุณค่าละประโยชน์ไม่น้อย


detailed-design

6-เกิดคำถามตอนสมัครงาน


คำว่า gap ก็หมายถึงช่องว่างอยูาแล้ว ดังนั้นก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีคำถามถึงปีที่เว้นว่างจากการเรียนและทำงานไป แต่ถ้าเราสามารถอธิบายได้ว่าหนึ่งปีที่ขาดหายจากการเรียนและการทำงานนั้น เราไปใช้ชีวิตพบเจออะไรมาบ้าง ได้เรียนรู้อะไรจากประสบการณ์นอกห้องเรียน และสามาถเชื่อมโยงเข้ากับงานที่สมัครหรือโปรเจคท์ที่สนใจได้ยังไง แน่นอนว่าจะสร้างความโดดเด่นในฐานะผู้สมัครได้อย่างดี


7-Gap year คือสิ่งที่ต้องการจริงหรือไม่


ต้องยอมรับว่าชีวิตยุคปัจจุบันนั้นได้รับอิทธิพลจาก content ในสื่อออนไลน์ไม่น้อย นักเรียนนักศึกษาหลายคนรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับชีวิตในต่างประเทศ รวมทั้งการเข้าร่วมกิจกรรมแปลกใหม่ที่ตัวเองอาจไม่มีโอกาสได้ทำด้วยตัวเองมาก่อนผ่านการติดตาม ig หรือ TikTok คนดัง เกิดเป็นความสนใจและอยากลองสัมผัสประสบการณ์แบบเดียวกันดูบ้าง ก็ต้องบอกเลยว่า มันก็ไม่ผิด แต่อย่าลืมว่า content ที่มองเห็นได้ในโลกออนไลน์ที่เน้นแต่ความ positive นั้นเป้นแค่ส่วนหนึ่งของเรื่องราวทั้งหมด ชีิวิตการเรียนต่างประเทศไ่ได้หมายถึงการมุ่งหน้าทำงานพาร์ไทม์เก็บเงินอย่างเดียว การฝึกงานแล้วไปกินเลี้ยงกับทีมมีคนเลี้ยงข้าวก็ไม่ได้หมายความว่าการทำงานไม่มีความกดดัน การท่องเที่ยวต่างเมืองหรือต่างประเทศเองก็มีค่าใช้จ่ายอยู่ด้วย ดังนั้นก่อนตัดสินใจจะทำ gap year ลองพิจารณาเงื่อนไขรวมทั้งเป้าหมายของตัวเอง จากนั้นค่อยพิจารณาว่าเราจำเป็นต้องมี gap year ตอนนี้เลยจริง ๆ รึเปล่า หรือเพียงทำตามกระแสในปัจจุบันเท่านั้น



พอทราบข้อเปรียบเทียบทั้งบวกและลบของ gap year กันแล้ว น่าจะพอช่วยให้หลายคนตั้งหลักได้ว่าจะตัดสินใจยังไงกับช่วงเวลาหลังเรียนจบที่ใกล้เข้ามา


หนึ่งในตัวเลือกการใช้เวลาช่วง gap year ที่นิยมกันมากอีกทางคือการเดินทางไปเรียนต่างประเทศ ไม่จำเป้นต้องเป้นปริญญาอีกใบก็ได้ แตาอาจเป็นหลักสูตรระยะสั้นที่เน้นการปฏิบัติ เพื่อช่วยให้ปรับตัวเข้ากับโลกการทำงานได้ไวขึ้น นอกจากนี้การเรียนต่างประเทศก็ช่วยให้ซึบซับการใช้ชีวิตในวัฒนธรรมที่หลากลาย เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน กับผู้คนที่มีพื้นเพตลอดจนความนึกคิดต่างจากเรา ถือเป็นประสบการณ์ที่ช่วยเสิรมปรัวติเมื่อสมัครงานได้เป็นอย่างดี


หลักสูตรที่แนะนำ เช่น UX/UI / Leadership / Digital Design Foundations / Photography หรือแม้แต่เรียนภาษาอย่างเดียว แน่นอนว่านี่คือการขายของ 555 เพราะหลักสูตรทั้งหมดนี้มีเปิดสอนในออสเตรเลียทั้งนั้น ระยะเวลาตั้งแต่ 6-12 เดือน แถมยังเป็นวิชาที่เน้นเรียนผ่านการลงมือทำ นักเรียนไม่ต้องมีพื้นฐานมากนักก็ได้ เรียกว่าเรียนสนุก ๆ ได้ทั้งทักษธ แถมเผลอ ๆ ได้ portfolio กลับมาด้วย ช่วงเวลานอกตารางเรียนก็ยังสามารถไปท่อวเที่ยวสำรวจทวีปออสเตรเลียกับกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นมาได้อีกด้วย เรียกว่าคุ้มหลายต่อทีเดียว ใครที่สนใจก็อย่าลืมทักทายมาพูดคุยกับทีม Hub 101 กันได้นะคะ


เอาล่ะค่ะ, พอหอมปากหอมคอ การตัดสินใจเลือกว่าจะทำ gap year มั้ยก็เป็นการตัดสินใจที่ยิ่งใหญ่มากครั้งหนึ่งเหมือนการตัดสินใจเลือกเส้นทางชีิวตครั้งอื่น ๆ ไม่ว่าการเลือกเรียนสายอาชีพหรือสายสามัญ การเลือกเรียกสายวิทย์หรือศิลป์ เลือกสาขาวิชาช่วงมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่เลือกบริษัทสมัครงาน ดังนั้นค่อย ๆ พิจารณาหาข้อมูล ที่สำคัญอย่าลืมว่าทางเลือก gap year ไม่ได้จำกัดแค่การเดินทางหรือเปลี่ยนอแปลงสภาพแวดล้อมอย่างเดียว เราสามารถใช้เวลาหนึ่งปีนี้เรียนรู้หรือสนุกไปกับงานอดิเรก ไม่ว่า ถ่ายรูป วาดภาพ อ่านหนังสือ ฝึกเขียนโค้ด ลองตัดต่อคลิป ฯลฯ ทุกอย่างล้วนเป็นการเรียนรู้ได้ทั้งนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้จ่ายเกินตัว หรือตามกระแสจนฝืนความชอบของตัวเอง


สำหรับ blog คราวหน้าจะมีเรื่องราวอะไรมาฝากกันอีกก็คงต้องดูกระแสกันซักหน่อย ปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ก็จะมีงาน Agent Update ที่จัดโดยสถานทูตออสเตรเลียอีกด้วย หากมีอัพเดทข้อมูลสำคัญอะไรก็จะสรุปมาเล่าให้ฟังกันอีกครั้งนะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก:


เพื่อน ๆ ที่สนใจการสมัครเรียนและวีซ่าออสเตรเลีย สามารถให้ Hub 101 เป็นผู้ช่วยได้นะคะ ติดต่อพูดคุยได้ทุกช่องทางด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ Hub 101 ผ่านช่องทางต่างๆ ได้ทุกวัน ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

Tel: 081 441 8448 Line ID: hub101study Facebook: facebook.com/Hub101StudyInAustralia Instagram: @hub_101_study

bottom of page